นาฬิกา

บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกียวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคต่างๆในประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของไทย



             ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 513,115.06 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเชียและพม่า เดิมได้แบ่งภูมิภาคของประเทศไทยออกเป็นภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ แต่ปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น 6ภาค ได้แก่
      1. ภาคเหนือ
      2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      3. ภาคตะวันตก
      4. ภาคกลาง
      5. ภาคตะวันออก
      6. ภาคใต้

    ลักษณะของประเทศไทย 
        ประเทศไทยมีความยาววัดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 1,620 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของประเทศวัดจากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขระ จังหวัดกาญจนบุรีถึงตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบุลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวประมาณ 750กิโลเมตรส่วนที่แคบสุดวัดจากตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ10.6 กิโลเมตร 
     อาณาเขตของประเทศไทย 
   ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศพม่าและลาว มีทิวเขาแดนลาวและแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
   ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา มีทิวเขาหลวงพระบาง พนมดงรัก และทิวเขาบรรทัด และแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
   ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศพม่า มีทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย และแม่น้ำปากจั่นเป็นพรมแดนธรรมชาติ
   ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย มีแม่น้ำโกลก และทิวเขาสันกาลาคีรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ
           ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
     1เขตภูเขาและหุบเขาภาคเหนือ
            ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา แนวเทือกเขาทอดตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้
       เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาหลวงพระบาง และมีที่ราบหุบเขาลักษณะแคบ ๆ อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาเป็นบริเวณที่มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินตะกอนอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
     2เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง
         ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือที่ราบตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไป จะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก มีภูเขประปราย -ที่ราบตอนล่างตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม มีลักษณะดินเป็นตะกอนน้ำพา
   3เขตเทือกเขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
             ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง รูปร่างคล้ายกระทะหงาย มีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้ลาดลงทางด้านตะวันออก เทือกเขาที่สำคัญได้แก่  เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของภาคเป็นแอ่ง เรียกว่าแอ่งโคราช 
  4เขตภูเขาและที่ราบภาคตะวันออก
               ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูกสลับกับภูเขาและมีที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้น ๆ
  5เขตเทือกเขาภาคตะวันตก
              ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขาที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีพื้นที่ราบแคบ ๆ
เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวยาวต่อเนื่องลงมา
   6เขตคาบสมุทรภาคใต้
             ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรยื่นลงไปในทะเล ขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ด้าน มีภูเขาทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีแม่น้ำสายสั้นๆและมีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกกว้างกว่าที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
            จังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
1. พรมแดนไทย-ลาว ติดต่อกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อำนาจเจริญ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี
2. พรมแดนไทย-กัมพูชา ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี ตราด
3. พรมแดนไทย-พม่า ติดต่อกับภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
4. พรมแดนไทย-มาเลเซีย ติดต่อกับภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา นราธิวาส

 ลักษณะภูมิอากาศของประเทศ
ประเทศไทยมีภูมิอากาศแตกต่างกันเล็กน้อย จัดเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical rainy climates) ซึ่งแบ่งออกเป็น ชนิด
              1. อากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูหรืออากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Savanna climate) ได้แก่ บริเวณตั้งแต่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน และแล้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน ดังนั้นลักษณะพืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่จึงเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ประเภทป่าผลัดใบ เช่น ทุ่งหญ้าและป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ในภาตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นที่นา แลเป็นที่ตั้งบ้านเรือนเกือบหมดแล้ว
              2. อากาศแบบฝนเมืองร้อนตลอดปีหรืออากาศแบบป่าดิบ (Tropical rainy forest) ได้แก่ บริเวณชายฝั่ตะวันออกของคาบสมุทรภาคใตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนตกหนักตลอดปี ประมาณ 2,000 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปี ลักษณะพืชพรรณจึงเป็นป่าไม้เขียวชอุ่มทั้งปี จึงเรียกว่าป่าดิบ
               3. อากาศแบบฝนเมืองร้อนเกือบตลอดปีหรืออากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Tropical monsoon- climates) ได้แก่ บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ และทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย จะได้รับฝนมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่าน และมีช่วงที่ฝนน้อยอยู่ เดือนหรือ เดือน ฉะนั้นจึงไม่จัดเป็นฝนตกตลอดปี ลักษณะพืชพรรณเป็นป่าดิบเช่นเดียวกับฝั่งตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น