นาฬิกา

บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกียวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคต่างๆในประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของไทย



             ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 513,115.06 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเชียและพม่า เดิมได้แบ่งภูมิภาคของประเทศไทยออกเป็นภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ แต่ปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น 6ภาค ได้แก่
      1. ภาคเหนือ
      2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      3. ภาคตะวันตก
      4. ภาคกลาง
      5. ภาคตะวันออก
      6. ภาคใต้

    ลักษณะของประเทศไทย 
        ประเทศไทยมีความยาววัดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 1,620 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของประเทศวัดจากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขระ จังหวัดกาญจนบุรีถึงตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบุลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวประมาณ 750กิโลเมตรส่วนที่แคบสุดวัดจากตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ10.6 กิโลเมตร 
     อาณาเขตของประเทศไทย 
   ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศพม่าและลาว มีทิวเขาแดนลาวและแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
   ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา มีทิวเขาหลวงพระบาง พนมดงรัก และทิวเขาบรรทัด และแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
   ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศพม่า มีทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย และแม่น้ำปากจั่นเป็นพรมแดนธรรมชาติ
   ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย มีแม่น้ำโกลก และทิวเขาสันกาลาคีรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ
           ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
     1เขตภูเขาและหุบเขาภาคเหนือ
            ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา แนวเทือกเขาทอดตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้
       เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาหลวงพระบาง และมีที่ราบหุบเขาลักษณะแคบ ๆ อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาเป็นบริเวณที่มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินตะกอนอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
     2เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง
         ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือที่ราบตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไป จะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก มีภูเขประปราย -ที่ราบตอนล่างตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม มีลักษณะดินเป็นตะกอนน้ำพา
   3เขตเทือกเขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
             ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง รูปร่างคล้ายกระทะหงาย มีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้ลาดลงทางด้านตะวันออก เทือกเขาที่สำคัญได้แก่  เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของภาคเป็นแอ่ง เรียกว่าแอ่งโคราช 
  4เขตภูเขาและที่ราบภาคตะวันออก
               ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูกสลับกับภูเขาและมีที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้น ๆ
  5เขตเทือกเขาภาคตะวันตก
              ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขาที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีพื้นที่ราบแคบ ๆ
เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวยาวต่อเนื่องลงมา
   6เขตคาบสมุทรภาคใต้
             ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรยื่นลงไปในทะเล ขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ด้าน มีภูเขาทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีแม่น้ำสายสั้นๆและมีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกกว้างกว่าที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
            จังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
1. พรมแดนไทย-ลาว ติดต่อกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อำนาจเจริญ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี
2. พรมแดนไทย-กัมพูชา ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี ตราด
3. พรมแดนไทย-พม่า ติดต่อกับภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
4. พรมแดนไทย-มาเลเซีย ติดต่อกับภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา นราธิวาส

 ลักษณะภูมิอากาศของประเทศ
ประเทศไทยมีภูมิอากาศแตกต่างกันเล็กน้อย จัดเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical rainy climates) ซึ่งแบ่งออกเป็น ชนิด
              1. อากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูหรืออากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Savanna climate) ได้แก่ บริเวณตั้งแต่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน และแล้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน ดังนั้นลักษณะพืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่จึงเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ประเภทป่าผลัดใบ เช่น ทุ่งหญ้าและป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ในภาตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นที่นา แลเป็นที่ตั้งบ้านเรือนเกือบหมดแล้ว
              2. อากาศแบบฝนเมืองร้อนตลอดปีหรืออากาศแบบป่าดิบ (Tropical rainy forest) ได้แก่ บริเวณชายฝั่ตะวันออกของคาบสมุทรภาคใตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนตกหนักตลอดปี ประมาณ 2,000 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปี ลักษณะพืชพรรณจึงเป็นป่าไม้เขียวชอุ่มทั้งปี จึงเรียกว่าป่าดิบ
               3. อากาศแบบฝนเมืองร้อนเกือบตลอดปีหรืออากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Tropical monsoon- climates) ได้แก่ บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ และทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย จะได้รับฝนมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่าน และมีช่วงที่ฝนน้อยอยู่ เดือนหรือ เดือน ฉะนั้นจึงไม่จัดเป็นฝนตกตลอดปี ลักษณะพืชพรรณเป็นป่าดิบเช่นเดียวกับฝั่งตะวันออก

 ภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก



     ภาคตะวันตกของประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 53,679 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 

ที่ตั้งและขอบเขตของภาค 
     ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 
     ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย                    
                   ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 
     ทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ 
     ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก 

     ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้ 
     1. เขตเทือกเขา ได้แก่
           - เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก 
           - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี 
           - เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย
     2. เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว 
        
แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก 
       - แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม 
       - แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย 
       - แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่ 
       - แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน 
       - แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
       - แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก 
       ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก 
     1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น 
     2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน 
     3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี 
     4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง 

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก 
1. ทรัพยากรดิน 
ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด 
2. ทรัพยากรน้ำ 
ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี 
3. ทรัพยากรป่าไม้ 
ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก 
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ 
ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ประชากรในภาคตะวันตก

       
ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ราชบุรี ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัดตาก 

ปัญหาประชากรในภาคตะวันตก 
1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน 
2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก 

กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 
1. การเพาะปลูก การปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ปลูกมากที่จังหวัดกาญจนบุรี 
2. การเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าและอาหาร 
3. การทำป่าไม้ เคยมีป่าไม้มาก ปัจจุบันทำการค้าโดยสั่งซื้อจากประเทศพม่า 
4. การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อย 
5. การทำเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน 
6. อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ผลิตน้ำตาล การปั้นโอ่งที่ราชบุรี และการท่องเที่ยว

ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ 
2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำเน่าเสียในแม่น้ำแม่กลอง 
3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำการค้า และธุรกิจ
ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออก

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันออก



      ภาคตะวันออกมีเนื้อที่ประมาณ 34,380 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด 

ที่ตั้งและขอบเขตภาคตะวันออก 

     ทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชา ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 
     ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพฯ สมุทรปราการ อ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
     ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนใต้สุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 

ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออก 
     ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล 
         - เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้                       และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา 
         - เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี 
         - เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ๆ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน

      ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง ๆ เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย 
คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน


แม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก      
 
1. แม่น้ำบางปะกง หรือแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีต้นกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา 
     2. แม่น้ำระยอง มีต้นกำเนิดที่จังหวัดชลบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดระยอง 
     3. แม่น้ำเวฬุ มีต้นกำเนิดที่เทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่จังหวัดจันทบุร ี 
     4. แม่น้ำจันทบุรี 

ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 515 กิโลเมตร มีลักษณะภูมิประเทศที่สวยงาม เช่น 
     - อ่าว ได้แก่ อ่าวอุดม อ่าวสัตหีบ อ่าวระยอง 
     -แหลม ได้แก่ แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด 
     - เกาะ ได้แก่ เกาะช้างที่จังหวัดตราด เกาะกูดที่จังหวัดตราด เกาะสีชังที่จังหวัดชลบุรี เกาะเสม็ดที่จังหวัดระยอง


ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออก 
     ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกคล้ายคลึงกับภาคใต้ คือ
-ทางตอนบนของภาคจากปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทราจะมีลักษณะอากาศแบบสะวันนา (Aw)
-ส่วนทางตอนล่างคือจันทบุรีและตราด จะมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นแบบมรสุม (Am) คือ มีฝนตกชุก อากาศร้อนชื้น 
จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ ตราด และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ ชลบุรี


ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคตะวันออก 
    1. ลมพายุ ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ทำให้เกิดฝนตกหนัก
    2. ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดจากอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกในภาคนี้
ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยมีผลต่อภาคตะวันออกมากนัก เนื่องจากมีทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรักเป็นแนวกั้นไว้ อากาศจึงไม่ค่อยหนาวเย็น
    3. การวางตัวของแนวเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัดจะกั้นทิศทางของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ฝนตกชุกในเขตจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
    4. ระยะใกล้ไกลทะเล ทางตอนบนของภาคอยู่ห่างจากทะเลมีผลทำให้อากาศร้อน อุณหภูมิสูง ส่วนทางตอนล่างของภาคจะได้รับลมทะเลทำให้อากาศเย็นสบาย

ทรัพยากรธรรมชาติของภาคตะวันออก 
1. ทรัพยากรดิน 
ดินส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเป็นดินปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่อุดมสมบูรณ์ บริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมถึงจะเป็นดินโคลนหรือดินเหนียว ส่วนดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินบะซอลต์ หินปูนในบริเวณที่สูงเหมาะแก่การปลูกพืชสวน เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมีดินอัลลูเวียนที่เหมาะใช้ทำนา 
2. ทรัพยากรน้ำ 
ภาคตะวันออกมีฝนตกชุกยาวนานและมีแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีการขาดแคลนน้ำจืดในเขตอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว เช่น จังหวัดชลบุรี 
3. ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกจะเป็นป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าชายเลน และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนจังหวัดที่มีป่าไม้น้อยที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี 
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ 
ภาคตะวันออกมีแร่หลายชนิด ได้แก่ 
       - เหล็ก พบที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา 
       - พลวง พบที่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี 
       - แร่รัตนชาติ เช่น คอรันตัม(พลอยสีน้ำเงิน,ไพลิน) บุษราคัม พบมากที่จังหวัดจันทบุรี และตราด ,ทับทิม พบที่จังหวัดตราด 
       - แร่เชื้อเพลิง พบที่บริเวณอ่าวไทย บริเวณมาบตาพุดจังหวัดระยอง


ประชากรในภาคตะวันออก 
ประชากรในภาคตะวันออกมีจำนวนประชากรน้อยรองจากภาคตะวันตก จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ ตราด และจังหวัดที่มีความหนาแน่นประชากรเบาบางที่สุดคือ จังหวัดสระแก้ว


ปัญหาของประชากรในภาค 
    1. ปัญหาการอพยพของชาวกัมพูชา
    2. ปัญหาการล่วงล้ำอธิปไตยและความปลอดภัยของประชากรตามแนวชายแดน


กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 
1. การเพาะปลูก ที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ จะทำนาส่วนใหญ่พืชผลที่สำคัญได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน เป็นต้น 
2. การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ เป็ด 
3. การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มบริเวณชายฝั่งที่ติดทะเล เช่น ชลบุรี ระยอง ส่วนประมงน้ำจืดที่จังหวัดปราจีนบุรี 
4. การทำเหมืองแร่ แร่รัตนชาติที่จังหวัดจันทบุรี และตราด 
5. อุตสาหกรรม มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล จัดเป็นนิคมอุตสาหกรรม เช่น 
       - **แหลมฉบัง เป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมหนัก 
       -** สัตหีบ เป็นอุตสาหกรรมการต่อเรือ ขนถ่ายสินค้าทางเรือ 

ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 
1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ รวมถึงกรรมสิทธิในที่ดิน 
2. ปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การขาดแคลนน้ำจืด และน้ำเค็มรุกเข้าสวนผลไม้ 
3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้ในการเกษตร 

ภูมิศาสตร์ทางภาคกลาง


ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคกลาง





             ภาคกลางมีพื้นที่ประมาณ 92,795 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 22 จังหวัด    ได้แก่  นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม    สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ 


ที่ตั้งและขอบเขตภาคกลาง 
     ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ จังหวัดสุโขทัย 
     ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาค คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ 
     ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ จังหวัดกำแพงเพชร 
     ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค คือ จังหวัดสมุทรสงคราม 

ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง 
เขตที่ราบ 
       - เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)
       - เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา 
       - เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป 
แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง 
       1. แม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ และมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี)           แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) 
       2. แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
       3. แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี 
คลองที่สำคัญในภาคกลาง 
       1. คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก 
       2. คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี 
       3. คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลองบางกอกน้อย 
       4. คลองแสนแสบ,คลองพระโขนง และคลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง 
       5. คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

***ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ บึงบอระเพ็ด    อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ และบึงสีไพ จังหวัดพิจิตร

ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลาง
       ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน 

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง 
1. ทรัพยากรดิน 
ภาคกลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วงฤดูแล้ง 
ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน ดินเหนียวลพบุรี ดินเหนียวองครักษ์ ดินร่วนกำแพงแสน และดินเหนียวดำกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามารวมกันเป็นที่ราบขนาดใหญ่ของภาคกลาง 
ส่วนดินบริเวณที่ราบเนินภูเขาจะ เกิดจากการสลายตัวของหินปูนและหินอัคนี เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ขนุน เป็นต้น 
2. ทรัพยากรน้ำ 
ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และมีการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี 
3. ทรัพยากรป่าไม้ 
ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง
ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ 
ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซัม หินอ่อน ดินมาร์ล หินปูน แร่เชื่อเพลิง พบ**น้ำมันดิบที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ






   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร เป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างมากประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี

ที่ตั้งและขอบเขตของภาค 
      
ทิศเหนือ      ติดกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
      ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ 

     
 ทิศตะวันตก   ติดต่อภาคกลาง ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
                        มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็นเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน
      ทิศใต้         ติดต่อกับประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออก ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ อำเภอครบุรี              จังหวัดนครราชสีมา มีภูเขาพนมดงรัก และสันกำแพงเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน 

ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

      
ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน ด้าน คือ ด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค ทำให้มีความลาดเอียงไปทางตะวันออก มีลักษณะคล้ายกะทะ แบ่งเป็น เขตใหญ่ ได้แก่
   1. บริเวณแอ่งที่ราบ 
     
 - แอ่งที่ราบโคราช เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและชี ลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเขา
      - แอ่งสกลนคร อยู่ทางตอนเหนือของภาคตั้งแต่แนวเขาภูพานไปจนถึงแม่น้ำโขง มีแม่น้ำสงครามและห้วยน้ำก่ำไหลผ่าน 

   2. บริเวณเขตภูเขา 
     
 - ภูเขาทางด้านตะวันตกของภาค วางตัวแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ภูเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาดงพญาเย็น
      - ภูเขาทางตอนใต้ของภาค ได้แก่ ภูเขาสันกำแพง ภูเขาพนมดงรัก
      - ภูเขาที่แบ่งระหว่างแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ได้แก่ทิวเขาภูพาน 

แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
  
 1แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสานตอนล่าง ต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกำแพง แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี 
   2. แม่น้ำชี มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตร ***เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย **มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   
   
ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือ  มีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกปานกลาง 
ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่จังหวัดเลย 
- ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจากพายุดีเปรสชัน จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือ นครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ นครราชสีมา
ฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่ มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุดรธานี
ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
1. ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง 
ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา 
2. ทรัพยากรน้ำ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ

เขื่อนสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 
เขื่อนสิรินธร อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี 
เขื่อนจุฬาภรณ์ อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ 
เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ในจังหวัดขอนแก่น 
เขื่อนลำปาว อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ 
เขื่อนลำตะคอง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา 
เขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา

ภูมิศาสตร์ภาคเหนือ

ลักษณะภูมิศาสตร์




ทิศเหนือ อยู่ที่ละติจูด 20 องศาเหนือ27 ลิปดาเหนือ
ทิศใต้ อยู่ที่ละติจูด 17 องศาเหนือ 10 ลิปดาเหนือ
ทิศตะวันออก อยู่ที่ลองจิจูด 101องศา 10 ลิปดาตะวันออก
ทิศตะวันตก อยู่ที่ลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก
ที่ตั้งสัมพันธ์ คือ
ทิศเหนือ ติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคเหนือคือ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับภาคกลาง และภาคตะวันตก ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคเหนือคือ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาคเหนือคือ เทือกเขาเพชรบูรณ์ อ.ปัว จ.น่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคเหนือคือ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ขนาด
ภาคเหนือมีเนื้อที่ทั้งหมด 93,691 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ของ 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพะเยา เป็นภาคที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศที่พื้นที่เป็นภูเขามากกว่าทุกภาค
ซึ่งเป็นร้อยละ 78 ของพื้นที่ทั้งหมดในภาคเหนือ

สามารถแบ่งเขตภูมิลักษณ์ได้ 3 เขต
1.เขตทิวเขาและภูเขา
2.เขตที่ราบและหุบเขา
3.เขตแอ่งที่ราบ
ลักษณะภูมิประเทศทิวเขาและภูเขา
ทิวเขาแดนลาวเป็นทิวเขาทอดตัวยาวอยู่แนวตะวันตก-ตะวันออก กันพรมแดน ระหว่างไทยกับพม่า รวมความยาว 250 กิโลเมตร ยอดทิวเขาสำคัญ ดอยตุง สูง 1356 เมตร ดอยผ้าห่มปก 1456 สูง เมตร และ ดอยอ่าวขาง สูง 1918 เมตร เป็นที่กำเนิดแม่น้ำปิง
ทิวเขาถนนธงชัย
เป็นทิวเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ทอดตัวยาวเหนือมาใต้ แนวระหว่าง ไทยกับพม่า วางตัวทอดลงมาในเขตแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ มียอดเขา สูงสุดคือ ดอยดิอินทนนท์ สูง 2580 เมตร
ทิวเขาผีปันน้ำ
เป็นทิวเขาที่ที่แบ่งน้ำเป็น2ทิศคือไหลสู่ทิศเหนือสู่แม่น้ำโขงทิศใต้ไหล สู่แม่น้ำปิง วัง ยม น่านมีความยาวทั้งหมด 475 กิโลเมตร มียอดเขาคือดอย แม่โถ สูง 1767 เมตร และดอยขุนตาล สูง 1348 เมตร
ทิวเขาหลวงพระบาง
เป็นทิวเขาที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของภาคเหนือ เป็น พรมแดนกั้นไทยกับลาว มีความยาวทั้งหมด 50 5เมตร มียอด เขาสูงสุดคือภูเมียงอยู่ในประเทศลาว เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน
ลักษณะภูมิประเทศที่ราบและหุบเขา
ที่ราบแม่น้ำปิง
เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของภาคเหนือ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
ที่ราบแม่น้ำวัง
เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอีกแล่งหนึ่งของาคเหนือ อยู่ในจังหวัดลำปาง
ที่ราบแม่น้ำยม
เป็นอยู่ระหว่างทิวเขาผีปันน้ำ ในจังหวัดแพร่
ทีราบแม่น้ำน่าน
เป็นแล่งการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดในภาคเหนือ คือจังหวัดน่านและอุตรดิตถ์
ที่ราบแม่น้ำยวน
เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ อยู่ในเขตอำเภอขุนยวนอำเภอลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ที่ราบแม่น้ำกก
เป็นราบลุ่มแคบๆ อยู่ในเขตอำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอ เมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ที่ราบแม่น้ำอิง
อยู่ติดกับที่รายแม่น้ำกก อยู่ในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อำเภอเทิง จังหวัด แม่ฮ่องสอน
ที่ราบแม่เมย
เป็นเส้นพรมแดนก้นระหว่างไทยกับพม่า เป็นที่ราบแคบ เป็นที่ราบแคบๆในเขต อำเภอแม่สะเพียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง
เป็นที่ราบแคบ อยู่ในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่
ลักษณะภูมิประเทศแอ่งที่ราบ
แอ่งแม่น้ำแจ่ม
เป็นแหล่งที่ราบขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่แจ่ม
แอ่งแม่น้ำตื่น
เป็นที่ราบส่วนอยู่ส่วนใต้ของทิวเขาถนนธงชัยในจังหวัด เชียงใหม่ อำเภออมก๋อย
แอ่งน้ำฝาง
เป็นที่ราบส่วนอยู่ส่วนใต้ของทิวเขาถนนธงชัยและด้านทิศ ตะวันตกทิวเขาผีปันน้ำ
แอ่งแม่งัด
เป็นที่ราบที่มีดินอุดมสมบูรณ์มาก ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
แอ่งลำปาง
เป็นที่รายที่ยาวที่สุดของภาคเหนือ ตั้งอยู่ใหจังหวัดลำปาง
2
ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศภาคเหนือมีลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตโซนร้อน แบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาลอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของภาคเหนือประมาณ 25 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด ในเดือนเมษายนประมาณ 42 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 15 องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,230 มิลลิเมตร/ปี โดยมีวันที่ฝนตกปีละประมาณ 110 วัน เขตที่มีฝนตกน้อยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 800-1,000 มิลลิเมตร/ปี ส่วนเขตที่ฝนตกชุกจะมีปริมาณฝนสูงสุดถึง 2,000 มิลลิเมตร/ปี
ภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ
1.ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และบางปีอาจเลยไปถึงกลางเดือนมีนาคม จะพัดเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศไทย จัดเป็นช่วงฤดูหนาวมีอากาศแห้งแล้ง
2.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงปลายเดือนกันยายน พัดพาเอาความชื้นจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรจัดเป็นช่วงฤดูฝน
32
ทรัพยากรป่าไม้และพืชพรรณธรรมชาติ
จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดของภาคเหนือคือ จ.เชียงใหม่ 14,060 ตร.กม รองลงมาคือ จ.แม่ฮ่องสอน 8,763 ตร.กม จังหวัดที่มีป่าไม้หนา แน่นที่สุดคือ จ.เชียงใหม่ ( ร้อยละ 70.0 ของพื้นที่จังหวัด) จังหวัดที่มีป่าไม้เบาบางที่สุดคือ จ.เชียงราย (ร้อยละ 32.7 ของพื้นที่จังหวัด) ป่าไม้ใน ภาคเหนืออาจจำแนกตามลักษณะ ของพืชพรรณ ที่ขึ้นได้ดังนี้
1.ป่าเบญจพรรณ หรือเรียกว่า ” ป่าผสมผลัดใบ” หรือ “ป่าโปร่งผสม” มีถึงร้อยละ 46 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดของภาคเหรือ ป่าเบญจ พรรณที่มีไม้สักขึ้นอยู่ทั่วไป เรียกว่า “ป่าสัก” ซึ่งมีอยู่ในทุกจังหวัดของภาคเหนือ (และรองลงมาถึงตากและกาญจนบุรี) ถ้าเป็นที่ราบหรือบริเวณเชิง เขาที่มีดินค่อนข้างแห้งหรือเป็นดินกรวดลูกรัง จะมีป่าแดงหรือป่าแพะ
2.ป่าดิบ ในภาคเหนือมีป่าดิบแล้ง พบตามที่ลุ่มชื้น ริมห้วย ลำธารและตามริมแม่น้ำใหญ่จนถึงระดับสูง 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลและมี ป่าดิบเขาใน ประเทศไทยมีอยู่ในภาคเหนือ ที่ระดับสูงกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีไม้จำปีและไม้เมืองหนาวขึ้นอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ ๆ ถูก ถากถางเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการปลูกผักและผลไม้เมืองหนาว และให้ชาวไทยภูเขาทำการเกษตรอยู่กับที่
3.ป่าสนเขา ส่วนใหญ่พบอยู่บนเขาที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป ป่าสนที่ปรากฏอยู่ในภาคเหนือนั้น มีทั้งที่ขึ้นปะปนอยู่กับไม้ ชนิดอื่น เช่น รัง เต็ง เหียง พลวง หรือขึ้นเป็นป่าสนล้วน
index
แม่น้ำ
แม่น้ำสายสำคัญในภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 พวก ได้แก่
1. พวกที่ไหลจากเหนือลงใต้ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำตื่น แม่น้ำงัด แม่น้ำกวง แม่น้ำทา แม่น้ำวัง แม่น้ำจาง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำปาด
2. พวกที่ไหลจากใต้ขึ้นเหนือ ได้แก่ แม่น้ำอิง แม่น้ำลาว แม่น้ำกก แม่น้ำจัน และแม่น้ำลี้
3. พวกที่ไหลไปลงทางด้านพม่า ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม และแม่น้ำปาย ซึ่งไหลบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน
ลักษณะนิสัยของชาวเหนือสังเกตได้จากภาษาพูด ซึ่งเป็นภาษาไทยท้องถิ่นที่มีความไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความ สุภาพอ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร งานหัตถกรรมมากมายที่สร้างสรรค์เป็นข้าวของเครื่องใช้ และของที่ระลึกที่ได้รับความนิยมจนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศนั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความ เป็นชาวไทยภาคเหนือได้เป็นอย่างดี